Plumbing work

การหาขนาดถังน้ำ

ถังเก็บน้ำมีไว้สำหรับสำรองน้ำตามความจำเป็น ทั้งในกรณีที่น้ำจากสาธารณะไม่เพียงพอ, ไหลไม่สม่ำเสมอ หรือ ต้องนำน้ำจากลำน้ำสาธารณะมารอการทำเป็นน้ำสะอาดเพื่อนำไปบริโภค ดังน้ำขนาดของถังเก็บน้ำจึงขึ้นอยู่กับ ปริมาณน้ำที่เราต้องการใช้ และ ปริมาณน้ำที่เราต้องการสำรอง


การหาขนาดถังเก็บน้ำต้องทราบปริมาณการในแต่ละวัน และจำนวนวันที่ต้องการจะสำรองไว้ใช้ รวมถึงสำรองน้ำสำหรับระบบ ดับเพลิง

ปริมาตรถังเก็บน้ำ = ปริมาณการใช้น้ำต่อวัน x วันที่จะสำรอง + น้ำสำรองสำหรับดับเพลิง
น้ำสำรองสำหรับดับเพลิง = ขนาดปั้มดับเพลิง x จำนวนนาทีที่จะสำรอง

หมายเหตู

****โดยทั่วไปสำหรับประเทศไทย น้ำสำหรับดับเพลิงจะสำรองให้เป็นไปตามมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของอาคารหรือ พื้นที่นั้นๆ ว่าเป็นอันตรายน้อย ปานกลาง หรือ มาก (พื้นที่ครอบครอง) ซื่ออยู่ที่ประมาณ 30 - 120 นาที
****นอกจากนี้สำหรับโรงงาน ต้องตรวจสอบ ข้อกำหนดของกรมสวัสดิการแรงงาน และใช้ค่าที่มากกว่า

ตัวอย่าง

ปริมาณการใช้น้ำสำหรับโรงงานแห่งหนึ่งเท่ากับ 40 m3 ต่อวันและต้องการสำรองประมาณ 1 วัน และมีปั้มน้ำดับเพลิงขนาด 1,800 ลิตรต่อนาที ( 1.8 m3 /นาที) ต้องสำรองรอรถดับเพลิงที่จะวิ่งมาถึงในเวลา 30 นาที

ปริมาณถังเก็บน้ำ = 40 x 1 วัน + 1.8 x 30 นาที = 94 m3

การหาปริมาณการใช้น้ำต่อวัน

ปริมาณการในแต่ละวัน ใช้น้ำจำเป็นต้องทราบถึงจำนวนคน, ปริมาณน้ำที่ใช้ในการปรับอากาศ, ปริมาณน้ำที่ใช้ในการผลิต, การทำน้ำร้อน, และอื่น

ปริมาณน้ำที่ใช้ต่อวัน = ปริมาณน้ำที่ใช้อุปโภคและบริโภค + ปริมาณน้ำที่ใช้ในการปรับอากาศ + ปริมาณน้ำที่ใช้ในการผลิต + การทำน้ำร้อน + อื่นๆ

ปริมาณน้ำที่ใช้อุปโภคและบริโภค = จำนวนคน x ปริมาณการใช้น้ำต่อคนต่อวัน ปริมาณการใช้น้ำต่อคนต่อวันสามารถหาได้จากตาราง

ตัวอย่าง

โรงงาน 200 คน จากตาราง ใช้น้ำ 100 Liter ต่อคนต่อวัน

ปริมาณการใช้น้ำ = 200 x 100 = 20,000 Liter/day

ตาราง 1 ปริมาณการใช้น้ำแต่ละอาคาร

ชนิดของอาคาร ปริมาณการใช้น้ำ(ลิตรต่อนาที) ชั่วโมงการทำงาน หมายเหตุ
Good Resident (ที่พักอาศัยระดับสูง) 250 8-10 ต่อคน
General Resident (ที่พักอาศัยทั่วไป) 160-250 8-10 ต่อคน
Apartment (ห้องเช่า) 200-250 8-10 Premium 250 ลิตร; Moderate 180 ลิตร; Single 120 ลิตร
Dormitory (หอพัก) 120 8 ต่อคน
Hospital (โรงพยาบาล)
Premium (ชั้นสูง) >1000 8-10 ต่อ เตียง; ผู้ป่วยนอก 8 ลิตร; เจ้าหน้าที่ 120 ลิตร; ผู้พักร่วม 160 ลิตร
Moderate (ชั้นกลาง) >500
Low (ทั่วไป) >350
School (โรงเรียน)
Primary (โรงเรียนประถม) 40 5 ครู 100 ลิตร
Secondary (มัธยมต้น) 50 6
High school & University (มัธยมปลาย,มหาวิทยาลัย) 80 6
Private Shop (ร้านค้า) 100 – 120 8 ผู้พักอาศัย 160 ลิตร
Government Building (หน่วยงานรัฐ) 100 8 ต่อคน
Department Store (ห้างสรรพสินค้า) 3 7 ต่อลูกค้า(เฉพาะห้องน้ำ); พนักงาน 100 ลิตร
Factory (โรงงาน)
Female (โรงเรียนประถม) 100 8 ต่อคน ต่อกะ
Male (มัธยมต้น) 60 8
Station (สถานี) 3 15 ต่อผู้โดยสาร
Restaurant (ร้านอาหาร) 30 5 พนักงาน 160 ลิตร
Public Restaurant (ร้านอาหาร) 10 5 พนักงาน 160 ลิตร; คนรอ 100 ลิตร; ห้องน้ำคิด 70% ของลูกค้า 15 ลิตร
Entertainment (สถานบันเทิง) 30 5 ต่อรอบ
Theater (โรงภาพยนตร์) 10 3 ต่อรอบ
Retail Market (ตลาดค้าปลีก) 40 6 ต่อลูกค้า; พนักงานคิด 160 ลิตร
Hotel (โรงแรม) 250-300 10 ต่อเตียง; พนักงาน 120-150 ลิตร
Temple, Church (วัด,โบสถ์) 10 2 ต่อคน
Library (ห้องสมุด) 25 5 ต่อคน
ฺBar, Sport club 30 6 ต่อคน
Night Club 120-350 ต่อคน; พนักงาน 160 ลิตร
Social Club 150-200 ต่อคน; พนักงาน 160 ลิตร
Test room 100-200 8 ต่อคน; พนักงาน 160 ลิตร

ปริมาณน้ำที่ใช้ในการปรับอากาศ

ปริมาณน้ำที่ใช้ในการปรับอากาศ ส่วนมากใช้สำหรับ cooling tower) ปริมาณน้ำที่ใช้กับ Cooling Tower ก็คือน้ำเติม(Make up water)

โดยประมาณจะคิด = 2% ของ flow rate ของ Cooling Tower

หากจะคิดโดยละเอียด จะใช้สูตร

Make up water = (Drip loss + Bleed off) x work hour
Drip loss = ดูจาก specification ของ cooling tower
Bleed off = E (N-1)
E (Evaporator Rate) = (R x D t) / 580
R (Recirculation) = Water flow rate (m3/hr.)
N = CM/CR
CM (Max Conductivity) = โดยทั่วไป = 1000
CR (Make up Conductivity) = โดยทั่วไป = 1000
ตัวอย่าง

cooling tower 100 RT, R= Water flow rate = 1000 L/min = 60 m3/hr

E = 60x5/580 = 0.52 m3/hr
N = 2000/1000 = 2
Bleed off = 0.52/(2-1) = 0.52 m3/hr